วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

วิทยาทาน เพี่อชุมชน

ถ่านกะลา ที่นาหม่อม

อีกหนึ่งบล็อกที่ต้องการขับเคลื่อนแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่ที่ทุกคนเข้าใจ แต่รู้อย่างเดียวรู้ว่าต้องใช้มัน แต่ไม่รู้จักใช้มัน ถ่านกะลาที่นาหม่อมเกิดจากจุดเล็กๆในบ้านหลังหนึ่งที่ขูดมะพร้าวไปขายวันละ ๑๐ กว่าลูก แต่กะลา ๑๐ กว่าลูกร่วมเดือนมันเป็นร้อย ก็ผลิตไว้ใช้เอง แจกบาง จนวันหนึ่งมีคนถามว่าขายกิโลเท่าไหร่ ถามกับไปว่าทำเองก็ได้จะซื้อทำไมจะทำไหมเดี๋ยวสอนให้ ได้รับคำตอบว่า ไม่ทำซื้อดีกว่า  เมื่อเสนอซื้อมาก็สนองตอบด้วยการขายกิโลละ ๑๕  บาท จากอาทิตย์ละ ๕๐ กิโล เป็น วันละร้อยกิโล ในความต้องการของตลาด แต่ถ่านกะลาที่นาหม่อม มันมาจากความรู้ที่ได้เรียนมาจากแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อรากฐานการพึ่งตัวเอง ก่อนจะนำไปสู่การแสวงหากำไร จุดนี้จึงจะยืนอยู่ที่การพึ่งพาตนเองมากกว่าแสวงหากำไร ผู้ที่สนใจก็แวะเข้ามาเอาไปทำกันได้มันเป็นสิ่งที่ผมเรียกว่า วิทยาทาน
ในปี ๒๕๕๔ ซึงเป็นปีมหามงคล ซึ่งจากข่าวของ กปร. มีดังนี้ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เปิดเผยหลังเป็นประธานในการประชุมสรุปผลการดำเนินงานของสำนักงาน กปร.ในปี 2553 และการเตรียมการในการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา ของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ว่า สำนักงาน กปร. ได้ทำหน้าที่ประสานหน่วยงานกับที่เกี่ยวข้องในการสนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและพระบรมวงศ์มาอย่างต่อเนื่องยาวนานถึง 30 ปี โดยมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ สำนักงาน กปร. ให้การสนับสนุนดำเนินงานถึง 4,853 โครงการและในปี 2553 สำนักงาน กปร. ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้งสิ้น 221 โครงการ
   
ทั้งนี้ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 สำนักงาน กปร. จึงได้กำหนดการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ “84 พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชาขึ้นเพื่อเป็นการเผยแพร่พระราชกรณียกิจ พระปรีชาสามารถ รวมทั้งองค์ความรู้และผลสำเร็จจากแนวพระราชดำริ ซึ่งได้กำหนดกิจกรรมไว้ 4 กิจกรรม ได้แก่ 1. การจัดการองค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริ 2. การจัดการประกวด อาทิ การ ประกวดอันเกี่ยวเนื่องกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประกอบด้วย การบริหารจัดการในเรื่องของน้ำ ป่า และความสำเร็จในการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
   
3. การจัดสัมมนาองค์ความรู้และการขยายผลจากผลสำเร็จในการศึกษาทดลองของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริสู่ราษฎร 4. จัดนิทรรศการสัญจรเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา จำนวน 10 ครั้ง ได้แก่ พื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 6 แห่ง ทั่วประเทศ และในพื้นที่ภูมิภาคต่าง ๆ ทุกภูมิภาคของประเทศอีก 4 ครั้ง
   
งานของสำนักงาน กปร.  ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการพัฒนา อาหาร อาชีพ แหล่งน้ำและพลังงานต่าง ๆ ซึ่งศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯทั้ง 6 แห่ง จะครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ผลงานการศึกษาวิจัยที่ประสบผลสำเร็จจะได้ถ่ายทอดให้กับประชาชนในท้องถิ่นได้ปฏิบัติ ซึ่งถือว่าประชาชนได้มีส่วนร่วมกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมาโดยตลอด โดยเฉพาะแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่มีการน้อมนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต ด้วยเหตุผลสำคัญที่ต้องการให้ประชาชนทั้งประเทศได้ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงงานมาอย่างต่อเนื่องนับเวลากว่า 60 ปี เพื่อราษฎรทั้งประเทศ จึงอยากให้นักวิชาการ ข้าราชการ พยายามนำแนวทางพระราชดำริไปถ่ายทอดสู่ประชาชนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี กล่าว
   
ทางด้าน นายเฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ เลขาธิการ กปร. เปิดเผยว่า สำนักงาน กปร. ร่วมกับสำนักราชเลขาธิการ และมูลนิธิชัยพัฒนา กำหนดจัดงาน “84 พรรษา ประโยชน์สู่ปวงประชาขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ซึ่งทางสำนักงาน กปร. ได้ประชุมเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมการในการจัดงานพร้อมรายงานให้กับองคมนตรีทั้ง 3 ท่าน ได้แก่ นายอำพล เสนาณรงค์ นายพลากร สุวรรณรัฐ และนายสวัสดิ์ วัฒนายากร ได้รับทราบถึงแนวทางการดำเนินงานต่าง ๆ รวมทั้งกิจกรรมที่จะดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ ซึ่งองคมนตรีทั้ง 3 ท่าน ได้ให้คำชี้แนะถึงแนวทางในการดำเนินงานซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการจัดกิจกรรมครั้งนี้
   
จะนำโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการทั่วประเทศมา ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างเป็นรูปธรรม นำเสนอจะเป็นผลประโยชน์ที่ประชาชนได้ รับจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีการเปรียบเทียบให้เห็นว่าก่อนมีโครงการพระราชดำริ และภายหลังจากที่มีโครงการพระราชดำริ มีผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นอย่างไรบ้าง จะมีการนำมาเสนอให้สังคมโดยส่วนรวมได้รับทราบอย่างเป็นรูปธรรม”  เลขาธิการ กปร.  กล่าว.

ตามข้อความที่ได้แสดงมาจะเห็นว่าหลายภาคส่วนพยายามที่จะเผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  ในส่วนของข้าพเจ้าเองและครอบครัวตลอดจนเพื่อนบ้าน ก็ได้รับการอบรมเกษตรกรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และนำมาใช้กับชีวิตประจำวัน ซึ่งแบ่งเป็นสองประเภทคือ ลดรายจ่ายในครัวเรือน เช่น ทำน้ำยาเอนกประสงค์ ใช้ล้างจาน ล้างรถ และเพิ่มรายได้ด้วยการเผาถ่านกะลามะพร้าวไว้ใช้เอง แจกจ่ายและสุดท้ายก็ขายสู่ตลาดได้
ถ่านกะลา ที่นาหม่อม จึงเกิดขึ้นด้วยโครงการ สมิหลาพอเพียงที่ภาครัฐ โดยสำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอนาหม่อม ได้จัดอุปกรณ์คือถังสองร้อยลิตร จำนวน ๒ ใบมาให้ หลังจากนั้นก็ได้ลงมือทำ จากทำใช้เองจนปัจุบันมีการเสนอซื้อจากตลาดเข้ามาจำนวนมาก แม้ในขณะนี้จะจำหน่ายแค่ร้านเดียวในตลาดสดหาดใหญ่ก็สามารถจำหน่ายได้วันละ ๑๐๐ กิโล/วัน ในราคาขายส่งกิโลละ ๑๒ บาท แต่กำลังผลิตโดยใช้เตาเผาถ่านแบบถัง ๒๐๐ ลิตรจำนวน ๔ ถัง ผลิตได้แค่ วันละ ๕๐ กิโล หากจะผลิตให้ได้วันละ ๑๐๐ กิโล ก็ต้องใช้ถึง ๘ ถัง ต้นทุน/ถัง สูงสุดที่  ๕๐๐ บาท  จุดคืนทุนอยู่ที่ ๓ วัน หากซื้อกะลารวมค่าขนส่ง ในกะลา ๒๐๐ กิโล ซื้อกิโลละ ๒บาท เป็นเงิน ๔๐๐ บาท ผลิตถ่านได้ ๕๐ กิโล จะได้เงินเท่ากับ ๖๐๐ บาท หักต้นทุนเหลือกำไร สุทธิ ๒๐๐ (อัตรา ๒ บาท/กิโลเป็นการตั้งต้นทุนสูงสุด) แต่ถ่านกะลาที่นาหม่อมได้กะลามาจากการให้ และแลกเปลี่ยน เช่น เอากะลามาให้ เอาถ่านกะลากลับไป อัตส่วนที่ ๖๐/๔๐ เช่น นำกะลามา ๑๐๐ ใบ จะได้รับกะลากลับไป ๔๐ ใบ หรือ นำกะลามาแลกกับน้ำยาเอนกประสงค์(น้ำยาล้างจาน)  ซึ่งปัจุบันก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
บล็อกถ่านกะลา ที่นาหม่อม จึงจัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่วิธีการผลิตถ่านและน้ำส้มควันไม้ เพื่อให้ผู้สนใจได้นำไปใช้ได้ อีกยังเป็นการใช้พลังงานบนดินที่สามารถผลิตไว้ใช้เองได้ ขอบคุณท่านผู้อ่านที่อ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ ท่านลองนึกภาพซิครับว่าหากจุดนี้เป็นที่รวมก็เศษกะลาที่หลายๆท่านมองไม่เห็นคุณค่า ไม่ว่าจะมีงานบุญต่างๆ ภาพที่เห็นการกำจัดกะลาและเศษขยะต่างๆ ด้วยการเผาทิ้งมันเป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ การสูญเสียพลังงานที่เราปลูกได้เองบนแผ่นดินของเรา

บทที่ ๑  การสร้างเตา






ในรูปเป็นแบบเปิดหลังเตา
ส่วนประกอบที่ใช้ในการติดตั้ง
1. ถัง 200 ลิตร
2.
ข้องอฉากใยหิน เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว
3.
ท่อตรงใยหิน เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 1 ม.
4.
อิฐบล็อกจำนวน ๑๐ ก้อน
5.
อิฐแดง
 
ในวีดีโอเป็นแบบเปิดหน้า
ขอแนะนำให้ทำแบบเปิดหลังเตาดีกว่าสะดวกดี ข้อสำคัญคือการยารอยแนวต่างๆ ให้สนิทน่ะครับ เทคนิคใหม่ก็คือยกหน้าเตาให้สูงกว่าด้านหลังที่ให้พอประมาณ หนึ่งฝ่ามือ หรือ ๑๐-๑๕ เซ็นครับ ไฟจะวิ่งเข้าดีมาก 




ต่อระยะห่างจากปากถังสัก๒อิฐบล็อกก็จะดีครับ เพราะเปลวไฟจะไม่วิ่งเข้าไปในตัวเตา การเผาถ่านแบบนี้จึงเรียกว่าการไล่ความชื้นนั้นเอง
ให้นำไม้ชิ้นเล็กไว้ใต้สุดแล้วค่อยๆเรียงไม้ขนาดใหญ่ไว้บนสุด ดูได้จากลิงค์วีดีโอข้างล่างครับ


บทที่๒ การติดเตา
ให้จุดไฟหน้าเตาเมื่อไฟติดดีแล้วให้ดันกองไปเข้าไปประมาณคืบหนึ่ง เพื่อให้ความร้อนวิ่งเข้าไปในเตา (สำหรับมือใหม่จริงๆ ขั้นตอนนี้สำคัญมาก เพราะถ้าคุณจุดไฟหน้าเตาแต่ความร้อนไม่วิ่งเข้าไปเลย จะทำให้เสียเวลามาก)
หลังจากจุดไฟหน้าเตาแล้วประมาณ ๑ ชั่วโมง ให้ใช้มือไปป้องที่ท่อใยหินเพื่อทดสอบดูว่ามีไอร้อนบางหรือป่าว  วิธีนี้ดีกว่าสังเกตุควันจากปากท่อใยหินมากสาเหตุมาจาก ๑ ถึง ๒ ชั่วโมงแรกควันที่ได้เป็นควันจากไม้ฟืนที่หน้าเตาครับ (เว้นแต่ว่ามือใหม่ใจร้อนเร่งไฟแรงจนไฟวิ่งเข้าไปติดกับไม้ฟืนที่อยู่ข้างในครับ)
กระบวนการนี้ขอแนะนำให้ไปซื้อปรอทที่ร้านขายยาครับหรือร้านขายเครื่องเขียนนักเรียน ราคาแค่ ๗๕ บาทครับวัดได้ ๑๐๐ องศาซี น่าสนใจในการลงทุนครับคุ้มมาก เครื่องมือง่ายๆ ใช้ได้ผล เมื่อเราติดไฟที่หน้าเตาแล้วประมาณ ๒ ชั่วโมงลองวัดความร้อนที่ปากท่อใยหินครับ ให้ได้อุณภูมิที่ ๒๐ ถึง ๓๕ องศาซี จะดีมากครับ ใจเย็นๆ ในอุณภูมินี้ไว้น่ะครับประมาณ ๓ ถึง ๔ ชั่วโมง ไฟในเตาก็จะเริ่มติดแล้วครับ(สำหรับมือใหม่ที่ใจร้อนต้องระวังช่วงนี้ให้มาก เพราะถ้าคุณเร่งไฟหน้าเตาแรง จนอุณหภูมิที่ปากท่อใยหินวิ่งสูงไปอยู่ที่ ๔๕ ถึง ๕๐ องศาซีแล้ว ไฟจะเริ่มติดที่หัวไม้ หรือส่วนที่อยู่ใกล้ปากเตา ทำให้การเผาไหม้ไม่ดี จะกลายเป็นขี้เถามาก)
รูปประกอบตอนไฟในเตาเริ่มติด



ยังมีต่อครับแล้วจะรีบมา